การวางแผนเชิงกลยุทธ์ทางสังคม

ลักษณะของแผนกลยุทธ์ที่ดี
ไม่ว่าใครก็อยากให้แผนงานออกมาดี แล้วแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีมีลักษณะอย่างไร
1.มีเป้าหมาย การตั้งเป้าหมายนั้นต้องมีภาพฝันหรือภาพวิสัยทัศน์ขององค์กรเรา เพราะผลลัพธ์ของสิ่งดีๆ ที่ออกมาได้นั้น เบื้องหลังที่ขับเคลื่อนอยู่คือภาพฝัน แผนงานที่ดีจะสร้างพลังให้คนทำงาน มิใช่บั่นทอนคนในองค์กร วิสัยทัศน์หรือภาพฝันที่เรามีต่อชุมชนหรือคนที่เราทำงานด้วยคืออะไร? คุณค่าขององค์กรเราคืออะไร? เราให้คุณค่ากับสิ่งไหน สิ่งที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังงานของเราคืออะไร เป้าหมายหลักขององค์กรเราคืออะไร?
2.มีความเป็นเหตุเป็นผล  เพราะอะไรสิ่งนี้ถึงจำเป็นหรือสำคัญในมุมมองของเรา เมื่อเราเลือกเป้าหมายขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องสามารถอธิบายให้เหตุผลได้ว่าเพราะอะไรเป้าหมายนี้ถึงสำคัญ
3.ระบุทรัพยากรที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการเงิน บุคคล เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร พื้นที่ ฯลฯ สิ่งที่สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย
4.มีขั้นตอนสู่เป้าหมาย ระบุการกระทำที่จะนำไปสู่เป้าหมาย เป็นเหมือนโรดแม็ปขององค์กรเรา
5.มีตารางเวลา  อะไรเป็นสิ่งที่เราต้องทำทันทีหรืออีกสามเดือนค่อยทำ ตารางงานจะกำหนดการเดินทางไปสู่เป้าหมายของเรา
6.มีการติดตามประเมินผล ส่วนประกอบต่างๆ ที่เราเอามาใช้ประเมินผล เช่นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลงมือกระทำเมื่อไร และจะรู้ได้อย่างไรว่าแผนนี้ประสบความสำเร็จ  เวลาที่เราวัดผลความสำเร็จไม่ใช่วัดผลเฉพาะตัวเลขว่าเราทำงานกับคนกี่คนแต่วัดด้วยว่าชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เราได้พัฒนาปรับปรุงสภาพต่างๆ ขึ้นได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น เราไม่ใช่แค่รายงานผลว่าเราให้ความรู้เรื่องสิทธิแก่คน 50 คน แต่เราบอกผลได้ด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง 50 คนนี้ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

สิบขั้นตอนในการวางแผน
1.Analyzing  วิเคราะห์
2.Brainstorming ระดมสมองฟังความเห็นของแต่ละคน
3.Marinating  บ่ม เหมือนบ่มเนื้อ แผนต้องบ่มจนสุกพอดี
4.Defending/refining ปรับแผนโดยดูจากเป้าหมายที่มีเหตุมีผล
5.Prioritizing  จัดลำดับความสำคัญ
6.Developing  ปรับปรุงและพัฒนาแผน
7.Approving  ผ่านกระบวนการอนุมัติ
8.Implementing ดำเนินงาน ลงมือกระทำตามแผน
9.Evaluating  ประเมินผลพัฒนาแผนงานของเรา
10.Revisiting  กรณีที่ปัจจัยภายนอกภายในเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการปรับปรุงแผนด้วย
การวางแผนกลยุทธ์ควรใช้เวลา 3-6 เดือน ในการบ่มจนได้ที่แต่อย่าปล่อยทิ้งให้ยืดเยื้อ แผนจะทำให้เราชัดเจนในการทำงานว่าเราจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ดังนั้นการทุ่มเวลาให้แก่การวางแผนจะช่วยในการทำงานภายหลังได้มาก
แผนกลยุทธ์ที่ดีจะไม่ซับซ้อนเกินไป เป็นจริงได้ แสดงวิสัยทัศน์หรือภาพฝัน เราวางแผนเพื่อให้เกิดสิ่งใดขึ้นแล้วเราก็ใช้ทรัพยากรของเรามุ่งไปสู่สิ่งนั้น ทุกคนในองค์กรเข้าใจแผนและมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามแผนนั้นแม้ไม่เห็นด้วยในรายละเอียด แต่เห็นตรงกันในภาพใหญ่
แผนงานที่ดีจะช่วยให้เราสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้คนอื่นรับรู้เกี่ยวกับงานของเราได้ด้วย เหมือนทำการตลาดประชาสัมพันธ์หรือสามารถสร้างความร่วมมือกับคนอื่นได้ด้วย
แผนงานที่ดีจะทำให้เกิดภาวะที่เกื้อกูลกันและกัน แผนที่ดีจะยังประโยชน์ซึ่งกันและกันในหมู่คนทำงานด้วย
เราทุกคนต่างอยากได้แผนงานที่เป็นเลิศ แผนงานที่เป็นเลิศจะมีลักษณะดังนี้
– มีภาพฝัน วิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน ผลักดันผู้คนทำตามภาพฝันนั้น
– เป็นจริงได้ ทำได้จริง
– มีตารางเวลาการทำงานที่ไม่ใช่ทำงานแบบรีบร้อน มีเวลาที่สามารถแสดงให้คนอื่นเห็นให้คนมีส่วนร่วม เห็นว่าทำได้จริง ค่อยเป็นค่อยไป
– มีการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอบ่อยๆ และชัดเจน
– มีศักยภาพที่จะกลับไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนงานได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็น
เมื่อเรามีแผนแล้ว แผนจะเป็นตัวขับเคลื่อนโครงการของเรา โครงการของเราจะถูกออกแบบมาเพื่อสอดรับกับแผนที่เราวางไว้ นั่นเองเป็นตัวกำหนดงบประมาณว่าเราจำเป็นต้องมีเงินที่ทำโครงการของเราเท่าไร
PLAN >>>> PROGRAM >>>> BUDGET
ทุกวันนี้แหล่งทุนจะพยายามถามถึงผลลัพธ์รูปธรรมหรือผลกระทบในระยะยาวที่เราทำ ตัวอย่างการวางแผนที่ง่ายๆไม่ซับซ้อน เป็นลำดับขั้นที่จะไปถึงเป้าหมาย เริ่มจากผลที่เกิดขึ้นหลังจากกิจกรรม เช่น เราได้สอนการจัดการเคสไปกี่คนแล้ว มีกี่คนที่มาเข้าชั้นเรียนกับเรา หรือถ้าเราเป็นคนบริจาคอาหารเราได้ให้อาหารไปกี่กิโลฯ กี่ครอบครัวแล้ว เป็นต้น นี่คือผลในเชิงตัวเลขหรือปริมาณ จากนั้นอะไรเป็นผลในเชิงคุณภาพ ผลที่เกิดขึ้นกับคนที่เราลงไปทำงานด้วย เขามีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างไรบ้าง สภาวะต่างๆ ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง สุดท้ายคือผลระยะยาวในภาพกว้างคืออะไร (Long-term Impact) โครงการของเราส่งผลกระทบอะไรในภาพใหญ่บ้าง

ที่มา: https://prachatai.com/journal/2017/06/72189

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.