หลายปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆได้มีความพยายามทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ด้วยการสร้างโอกาสให้กับสตรีและเด็กหญิง งาน CSR ด้านความเท่าเทียมทางเพศมักเริ่มจากการเน้นให้ผู้หญิงเร่งพัฒนาโดยการฝึกอบรมต่างๆ การให้โควต้าการจ้างงานแก่ผู้หญิงมากขึ้น การให้ทุนการศึกษา ตัวอย่างเช่น ภาคการเงินของบริษัทเป็นจำนวนมากให้ความสำคัญงาน CSR ไปในด้านการให้ความรู้ทางด้านการเงินแก่ผู้หญิงทั่วโลก การลงทุนในด้านนี้เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องการเงินในครัวเรือน ทักษะด้านการประกอบการธุรกิจ ไปจนถึงการต่อรองเงินเดือน
การให้ความรู้และพัฒนาทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ แต่หากสามีไม่อนุญาตให้ผู้หญิงกู้เงิน ความรู้เรื่องการเงินในครัวเรือนก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าบรรทัดฐานทางสังคมระบุไว้แล้วว่าผู้หญิงไม่สามารถทำงานนอกบ้านได้ หรือเดินทางไปชุมชนอื่นได้โดยลำพัง ผู้หญิงก็ไม่สามารถใช้ทักษะด้านธุรกิจที่ได้รับการอบรมมาเพื่อทำงานได้ ทั้งนี้ วิธีการแทรกแซงอย่างมีประสิทธิภาพในระดับต่างๆมีข้อจำกัดแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
ก้าวข้ามปัจเจกบุคคล
เราจะเห็นว่าบริษัทชั้นนำและพันธมิตรหลายแห่งได้ก้าวไปไกลกว่าการทำโครงการที่มุ่งไปที่สตรีและเด็กหญิงแล้ว โดยองค์กรเหล่านี้ได้พิจารณาความสัมพันธ์และปัจจัยที่เป็นระบบ ซึ่งจะมีอิทธิพลส่งผลให้ความสามารถของผู้หญิงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าใช้นวัตกรรมพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นความเท่าเทียมกันทางเพศ
มากกว่า 75% ของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้านั้นเป็นผู้หญิง ทำให้เรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศมีความเกี่ยวข้องบริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมนี้ พัฒนาการของบริษัทต่างๆ และสัมพันธมิตรอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ได้นำเสนอการเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่นำไปสู่กระบวนการและการออกแบบโครงการที่จำเป็น ที่จะส่งผลให้งานประสบความสำเร็จ
โครงการ P.A.C.E. (Personal Advancement and Career Enhancement) ของ Gap Inc. ได้เตรียมการฝึกอบรมด้านทักษะชีวิตและความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง ผ่าน 9 หลักสูตรมาตรฐาน ที่พูดถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ ความสามารถในการอ่านและเขียน และทักษะในวิชาชีพ หนึ่งในหลักสูตรนี้เป็นเรื่องบทบาททางเพศและมุ่งให้ผู้หญิงเข้าใจบทบาทของตนเองและบรรทัดฐานทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากร ผู้หญิงที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้แบ่งปันเรื่องราวที่เธอใช้ความรู้จากการเข้าอบรมในการโน้มน้าวเรื่องปริมาณงานที่ไม่เหมาะสม และสร้างความเท่าเทียมให้เกิดมากขึ้นที่บ้าน ผู้เข้าอบรมรายหนึ่งได้นำบทเรียนเรื่องบทบาททางเพศไปแบ่งปันให้สามีทราบ ในตอนนี้ พวกเขาก็ได้ช่วยแชร์ปริมาณงานที่มีมาก เพราะสามีเข้าใจแล้วว่ามันไม่ใช่งานที่ผู้หญิงเท่านั้นต้องทำ
องค์กรอื่นๆในธุรกิจเสื้อผ้าได้ขยายความพยายามขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง มากไปกว่าบุคคล และบริบทที่พูดถึงนโยบายและระบบที่นำไปสู่โอกาสของผู้หญิง เครือข่ายธุรกิจเพื่อผู้หญิง The Business Coalition for Women (BCFW) สนับสนุนโดยองค์สมาชิกของ IFC ที่มีเครือข่ายกว่า 50 บริษัทในปาปัว นิว กินี ได้ระบุถึงปัญหาด้านความรุนแรงทางเพศในที่ทำงาน พร้อมกับพัฒนาชุดเครื่องมือที่สามารถปฏิบัติได้ คำแนะนำด้านนโยบาย แหล่งสำหรับฝึกอบรม และข้อมูลการส่งต่อสำหรับผู้จ้างงานและพนักงานหญิง รวมทั้งรณรงค์ประเด็นนี้ในสาธารณะ
ทาทา ที สนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศในการศึกษาที่ประเทศอินเดีย
ในประเทศอินเดีย ทาทา ที กำลังใช้วิธีการที่ระบุถึงอิทธิพลทั้งทางด้านเนื้อหาและนโยบายในด้านความเท่าเทียมกันทางเพศ บริษัทได้ใช้ความสามารถด้านการตลาดและการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการยกระดับนโยบายระดับชาติในสิ่งที่ต้องการด้านการศึกษา แพลตฟอร์มที่สนับสนุนเรื่องนี้มีชื่อว่า“Jaago Re” ได้ทำการล่ารายชื่อสนับสนุนเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลอินเดียจัดให้มีชั้นเรียนภาคบังคับที่อ่อนไหวในเรื่องบทบาททางเพศในโรงเรียน ชั้นเรียนเหล่านี้เริ่มนำร่องที่มัมไบและรัฐจาข่าน และจากการประเมินผลเมื่อเร็วๆนี้พบว่าโครงการทำให้เกิดการเข้าร่วมกันของทุกเพศอย่างเท่าเทียมมากขึ้น มีการสื่อสารเพิ่มขึ้น ลดการยอมรับและการทำผิดทางด้านความุนแรง และที่สำคัญ ทาทา ที มีความตั้งใจในการรวมผู้ชายเข้ามาช่วยในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศและผลักดันนโยบายในการออกกฏหมายเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ
บริษัทได้ขยายความเข้าใจด้านความเท่าเทียมทางเพศและสิ่งที่จะทำให้สำเร็จ โดยรวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสด้านระบบและบริบทที่กว้างกว่า เพื่อทำให้แน่ใจในความสำเร็จและความยั่งยืนของการลงทุน ซึ่งอาจมองหาการเสริมสร้างพลังให้สตรีและเด็กหญิงเป็นรายบุคคลในอันดับแรก
วิธีการออกแบบเพื่อผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กว่า
แล้วบริษัทจะก้าวอย่างไรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของวิธีการทำให้ถึงจุดหมายในผลลัพธ์ทางสังคมและความเท่าเทียมกันทางเพศ
รวมเสียงสตรีและเด็กหญิงเข้าด้วยกัน
นำเสียงสตรีและเด็กหญิงมาเป็นพื้นฐานโครงการที่ใช้สถานการณ์ชีวิตจริง สิ่งนี้เป็นความท้าทายมากกว่าที่คิดไว้ เนื่องจากสถานภาพทางสังคมสามารถกันผู้หญิงออกจากการเข้าร่วมในการวิจัย หรือ การสนับสนุนทัศนคติของเธอ ผลของข้อมูลที่สำรวจมาหรือรายงานเชิงคุณภาพจะไม่เก็บเกี่ยวสิ่งที่ผู้หญิงต้องการจริงๆ หรือ ประสบการณ์ชีวิต เนื่องจากผู้ชายจะเป็นผู้รายงานแทนผู้หญิง
ทางเลือกในการออกแบบโดยมีผู้หญิงเป็นศูนย์กลางจะมั่นใจได้ว่ามุมมองของกลุ่มเป้าหมายโดบตรงมีอิทธิพลในการออกแบบโครงการ
Project Laser Beam เป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนอาหารโลก และพันธมิตรภาคธุรกิจในการจัดการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร การออกแบบโครงการใช้วิธีแบบบูรณาการ และความเชี่ยวชาญของผู้นำหญิงในชุมชนเพื่อสร้างการแก้ป้ญหาที่เกี่ยวข้องในบริบทท้องถิ่น
การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเพศ: บริบทที่วิเคราะห์ด้านเพศโดยเฉพาะสามารถทำให้มองเห็นถึงอุปสรรคที่เป็นรากฐานของความเท่าเทียมกันทางเพศ ข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณสามารถใช้ในการทำความเข้าใจว่าเพศมีบทบาทอย่างไรและเมื่อไร และเมื่อใดที่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ชนชั้น สีผิว และสถานะทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่เด่นกว่า Kellogg ได้ใช้การวิเคราะห์ในด้านเพศในการออกแบบโครงการที่ช่วยเสริมพลังให้ชาวนาหญิงผู้ถือครองรายย่อยในรัฐโอดิสชาของอินเดีย โดยร่วมมือกับ CARE นอกเหนือไปจากการฝึกอบรมทางด้านการเกษตรกรรมแบบยั่งยืนแล้ว ทางโครงการยังทำงานในเรื่องการเพิ่มรายได้และการออม จุดยืนทางสังคม และการเข้าร่วมอย่างเท่าเทียมกันของผู้ชายในครัวเรือนแล้วขยายไปถึงระดับชุมชน กลุ่มต่างๆที่ช่วยเหลือและร่วมมือกันมุ่งหวังที่จะสร้างความสามัคคีและความแข็งแกร่งขึ้นในบรรดาผู้เข้าร่วมในโครงการ ผลก็คือ สตรี 500 คน ได้เข้าถึงข้อมูลและการตลาดด้านเกษตรกรรม ผู้นำหญิงสามคนได้อุทิศตนในโครงการหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมและการมีผู้หญิงเข้าร่วม และผู้ชายในชุมชนก็สนับสนุนและส่งเสริมชาวนาหญิงผู้ถือครองรายย่อย
ลงทุนในการศึกษาผลลัพธ์ที่จุดตั้งต้น: ก่อนที่โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมจะเริ่ม มันเป็นการปฏิบัติที่ดีที่จะเริ่มจากการเก็บข้อมูลที่แยกเพศหญิงชายเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการเริ่มต้นด้วยความเข้าใจไปในแนวเดียวกันกับปัญหา สิ่งซึ่งเราสร้างขึ้นเพื่อสามารถหยุดสิ่งนั้น ณ. เวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบกับสิ่งเดียวกันนี้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป โดยการวัดผลความคืบหน้าเมื่อโครงการก้าวหน้าและเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ตลอดทั้งของชายและหญิงที่ืแยกออกจากกัน เราเห็นบางบริษัทเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ในขณะที่พันธมิตรอื่นๆใช้ผู้เชี่ยวชาญข้างนอก Data2X คือแพลตฟอร์มที่ร่วมมือด้านความเชี่ยวชาญและฝ่ายสนับสนุน ซึ่งพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ขยายการเก็บข้อมูลที่แยกเพศหญิงชายในการปรับปรุงผลลัพธ์เพื่อสตรีและเด็กหญิง
วางแผนระบบนิเวศ: การออกแบบโครงการควรรวมถึงความเข้าใจแบบบูรณาการของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐในเรื่องนั้นๆและมุ่งไปที่ภูมิศาตร์ สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มการรับรู้นำไปสู่การเข้าถึงทรัพยากรที่กว้างขึ้นซึ่งการลงทุนโดยภาคธุรกิจสามารถตอบรับและเป็นบทบาทที่แตกต่างชัดเจน การวางแผนระบบนิเวศจะทำให้มั่นใจด้วยว่า ในขณะที่บริษัทแห่งหนึ่งอาจไม่ทำงานระดับบุคคล ความสัมพันธ์ และระบบ แต่ก็ยังแน่ใจได้ว่าการแทรกแซงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวหรือซ้ำซ้อนกับความพยายามที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ความสำเร็จเป็นไปได้สูงกว่า
“Golden triangle” partnership approach ของโคคา-โคล่า ได้สรุปส่วนสำคัญของการที่ว่า ธุรกิจ รัฐบาล และประชาสังคมควรทำงานด้วยกัน วิธีการทำให้ถึงจุดหมายของเขาตั้งอยู่บนพื้นฐานทัศนวิสัยที่แข็งแรงในของผู้ทำงานทั้งหมด มีการจัดวางความเชี่ยวชาญของตนเอง (โซ่อุปทาน, การตลาด และการกระจาย) อย่างชัดเจนภายในระบบนั้นๆ และเน้นถึงโอกาสทางการเป็นพันธมิตรอีกด้วย
งานวิจัยของแนะนำว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) สามารถมีบทบาทที่สำคัญในการเคลื่อนความเท่าเทียมกันทางเพศไปข้างหน้าเมื่อมันได้ถูกออกแบบมาเพื่อความซับซ้อนในชีวืตจริง การยอมรับความท้าทายที่เป็นใยแมงมุมภายในครอบครัว ชุมชน และในระดับนโยบาย ที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์ของผู้หญิงคนหนึ่งนั้นมีความสำคัญมากในการดำเนินโครงการ CSR ที่มีประสิทธิภาพ อำนาจที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาคือความซับซ้อนและท้าทายที่จะหาหนทางจัดการกับสิ่งยุ่งยาก แต่การที่เราทำให้ความเท่าเทียมกันทางเพศดีขึ้นนั้นส่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน
ที่มา: https://www.fsg.org/blog/how-csr-can-advance-gender-equity