นิยามความรวย และการเข้าถึงประชากรกลุ่มที่มั่งคั่ง

การแบ่งกลุ่มผู้ที่มีความมั่งคั่งในระดับสากลนั้น จะนับกลุ่มที่มีสินทรัพย์ทางการเงิน เงินลงทุน เงินฝากตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป โดยแบ่งได้ ดังนี้

1. กลุ่มเศรษฐีเงินล้าน (Millionaire) 30 – 150 ล้านบาท (1 – 5 ล้านเหรียญสหรัฐ)

2. กลุ่มมหาเศรษฐี (HNWI) 150 – 1,000 ล้านบาท (> 5 – 30 ล้านเหรียญสหรัฐ)

3. กลุ่มอภิมหาเศรษฐี (Ultra-HNWI) >1,000 ล้านบาท (> 30 ล้านเหรียญสหรัฐ)

*HNWI = High Net Worth Individual หรือ ผู้มีความมั่งคั่งสูง

กลุ่มผู้ร่ำรวยเหล่านี้มีการบริหารความมั่งคั่งให้ยั่งยืนโดย

เพิ่มความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation)

  • ทำให้เงินต้นงอกเงย (Capital Appreciation)
  • ให้เงินทำงานแทน (Income Generation)
  • มีไว้ใช้ยามฉุกเฉิน (Emergency Fund)
  • เพื่อการเกษียณ (Retirement Fund)
  • เพื่อส่งต่อให้ทายาท (Estate Planning)
  • เพื่อการกุศล (Philanthropy)

ปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection)

  • ปกป้องทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด: ประกันชีวิต (Life Insurance)
  • ปกป้องที่พักอาศัย: ประกันภัยอสังหาริมทรัพย์ (Estate Insurance)
  • ปกป้องยานพาหนะ: ประกันภัยรถยนต์ (Vehicle Insurance)
  • ปกป้องในอาชีพและความเสี่ยงฟ้องร้องในอาชีพ: ประกันภัยในอาชีพ (Professional Director Insurance)
  • ปกป้องธุรกิจ: ประกันภัยธุรกิจ (Business Contingency Insurance)

การหาผู้บริจาคที่มีความมั่งคั่งสูงทำได้โดยเชื้อเชิญให้บริจาคโดยตรง (300 ล้านบาท+) ซึ่งสามารถพัฒนาโอกาสในการให้ด้วยการหาสมาชิกใหม่ จากการประชุมในแพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับองค์กรด้านความเชื่อต่างๆ การสร้างกิจกรรมในบริเวณที่เป็นที่สนใจของผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง เชื้อเชิญผู้มีอิทธิพลให้มาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์และทำกิจกรรมต่างๆที่ดึงดูดผู้บริจาครายได้สูงให้มาร่วม

ที่มา: ธนชาติ

รูปปก: dailyhunt.in

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.