การทำบุญ หรือ Philanthropy มาได้จากหลายทาง
การให้โดยบุคคลทั่วไป (Individual giving) มีอยู่ทุกหนแห่ง และมีจำนวนมากยิ่งขึ้น จากทั้งคนรวย และคนฐานะปานกลาง ซึ่งมีมากกว่าการให้จากสถาบัน (Institutional giving) โดยมีการให้ในทุกที่ บางทีอาจจะไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่าจากที่ไหนบ้าง
การให้โดยบุคคลทั่วไปยังคงเป็นรูปแบบดั้งเดิมและมีจุดหมายปลายทาง การให้เพื่อศาสนายังคงเป็นสิ่งสำคัญในหลายๆ ประเทศ หรือแม้แต่การให้ในทางโลก อย่างไรก็ตาม การให้แก่องค์กรต่างๆ ยังคงมีอุปสรรคในเรื่องความไม่น่าเชื่อถือ
การให้แบบใหม่ๆ สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยี เช่น การบริจาคออนไลน์ การบริจาคผ่าน SMS และแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิ้ง เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น แต่ก็ยังจำกัดในบางที่ แม้ว่าการบริจาคออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องภัยพิบัติ แต่ก็เป็นไปได้อย่างยิ่งที่ทำให้เกิดการสนับสนุนในเรื่องที่สนใจร่วมกันและเป็นปึกแผ่น
การให้จากผู้ที่ร่ำรวยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากคนรุ่นใหม่ซึ่งมีแนวโน้มที่การให้แบบดั้งเดิมจะน้อยลง คนร่ำรวยรุ่นใหม่เหล่านี้จะยิ่งบริจาคหากมีการพูดถึงการให้ของพวกเขามากขึ้น แต่สื่อต่างๆ และสาธารณชนก็ทำให้พวกเขาไม่อยากบริจาคได้พอๆ กัน
การให้โดยสถาบัน (Institutional giving) จำนวนของมูลนิธิ (Foundation) โดยทั่วไปกำลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและบางประเทศในซีกโลกใต้ สองเหตุผลสำคัญสำหรับเรื่องนี้คือการเจริญเติบโตของความมั่งคั่ง และการสนับสนุนการบริจาคเพื่อช่วยเสริมงบประมาณของภาครัฐ ในขณะเดียวกันมีแนวโน้มที่ผู้ร่ำรวยจะให้โดยไม่ต้องการก่อตั้งมูลนิธิแบบดั้งเดิม
แม้ว่าในทางทฤษฎี มูลนิธิอยู่ในฐานะที่จะเสี่ยงได้ แต่ในทางปฏิบัติ มูลนิธิส่วนใหญ่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม โดยมักจะบริจาคให้กับเรื่องที่ ‘ปลอดภัย’ เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ และการบริการทางสังคม มีส่วนน้อยที่ยินดีจะสนับสนุนการแก้ปัญหาด้วยการรณรงค์ หรือส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม การให้โดยบริษัทมักจะมีความเสี่ยงมากกว่าการให้จากมูลนิธิ เพราะมีแนวโน้มที่จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่บริษัทคาดหวังมากกว่าสิ่งที่จำเป็น ในความเป็นจริงนั้น มูลนิธิมีความเสี่ยงมากกว่าที่เห็น
แม้ว่าการให้ทุนจะค่อยๆ เริ่มเป็นพื้นฐานที่ดี แต่ก็เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างเล็กน้อยจากมูลนิธิ ยกเว้นในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ การให้เชิงกลยุทธ์เริ่มมีมากขึ้น นำมาซึ่งการมุ่งความสำคัญไปที่การวัดผลกระทบ ซึ่งบางมุมก็อาจเป็นอันตราย
บทบาทสำคัญสำหรับมูลนิธิมี 4 ด้าน คือ นวัตกรรม, การอุดช่องว่าง, การสนับสนุนภาคประชาสังคม และการดำเนินการในระยะยาว บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับระดับความตั้งใจที่จะเสี่ยงของมูลนิธินั้นๆ ด้วย
การทำบุญให้ชุมชน (Community Philanthrophy) มูลนิธิชุมชนนั้นจะพบได้เกือบทุกที่ แม้ว่าพวกเขาได้ปรับให้เข้ากับความต้องการและสถานการณ์ท้องถิ่น แต่ก็ไม่ได้กระจายการให้ได้อย่างทั่วถึง พวกเขามีหลายบทบาท ตั้งแต่การสร้างชุมชน ไปจนถึงการบริการผู้บริจาค นอกจากนี้ยังมีการตกลงเรื่องใหญ่ๆ สำหรับการบริจาคให้ชุมชนอย่างไม่เป็นทางการอีกด้วย
นอกเหนือจากเงินอุดหนุน: การใช้เงินบริจาคที่แตกต่างกัน (Beyond grants: different uses of philanthropic money) มูลนิธิมีการสำรวจวิธีใหม่ๆ ในการใช้ทรัพย์สินในรูปแบบของการบริจาคแบบเสี่ยง การลงทุนแบบมีผลลัพธ์ระยะยาว และการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และ/ หรือ โดยใช้สินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินตรา เช่น ความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง และการรวมอำนาจ แนวโน้มเหล่านี้ไม่ควรจะพูดเกินจริง ตัวอย่างเช่น การลงทุนที่มีผลกระทบ แม้ว่าจะเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสถาบันหลายแห่ง แต่ก็ยังไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างแพร่หลาย คู่ขนานกันไป เราเห็นถึงการเติบโตของกิจการเพื่อสังคม/ ธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งหลายประเทศมองว่ามีความสำคัญอย่างมาก
มีความไม่ชัดเจนในเส้นแบ่งระหว่างภาคส่วนที่เป็นผลกำไรและไม่แสวงหากำไรมากขึ้น ลักษณะเด่นขององค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมนั้นเป็นลูกผสมกับองค์กรที่มีรูปแบบทางกฎหมายที่แตกต่างกันและใช้วิธีการทำงานที่หลากหลาย ดังนั้น ความเข้าใจในคำว่า “การกุศล” และ “ผู้ใจบุญ” นั้นกว้างมาก สามารถนำมาซึ่งเงินทุนที่มากขึ้น เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
ความร่วมมือกัน (Collaboration) ความร่วมมือทั้งในภาคส่วน ระหว่างภาคการกุศล และภาคอื่นๆ กำลังได้รับการยอมรับมากขึ้นในหลักการที่เป็นวิธีการบริจาคที่เพิ่มผลลัพธ์ในระยะยาวให้มากที่สุด แต่ก็ยังไม่ได้แพร่หลายนัก ปัจจัยที่ยับยั้งวิธีนี้คือ การยึดมั่นในความอิสระของมูลนิธิ การลงทุนในเรื่องเวลาที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จ และการขาดพนักงานในสถาบันการกุศล การทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและการกุศลมีแนวโน้มที่จะถูกจำกัดโดยความสงสัยของแรงจูงใจและการขาดความเข้าใจทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับสิ่งที่อีกฝ่ายสามารถนำเสนอได้
ความเข้าใจในเรื่องความร่วมมือกันมีอยู่อย่างชัดเจนในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แต่ความไม่ตั้งใจมากกว่ากิจกรรมที่มีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อองค์กรการกุศลในตอนนี้ ในขณะที่ SDGs นำเสนอแม่แบบสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาการทำงานพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ผู้ให้ทุนจำนวนมากยังคงสับสน ในบางกรณี พวกเขากำลังรอคอยกลยุทธ์แห่งชาติที่ชัดเจนที่จะนำไปสู่ SDGs ไม่จากรัฐบาลก็จากตัวแทนจากภาคส่วนของตนเอง
ภาคการกุศล ภาครัฐบาล และภาคประชาสังคม (Philanthropy, government and civil society) ในการทำกิจกรรมของ NGOs ขณะที่รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม และภาคการกุศลทำงานที่ได้รับการอนุมัติ แต่ก็มีขั้นตอนที่มากขึ้นและยังมีความละเอียดอ่อนทางการเมืองอีกด้วย ทั้งโดยการจำกัดอย่างเป็นทางการ หรือการคุกคามอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจะส่งผลต่อผู้บริจาคที่ถูกจำกัดวิธีการที่จะสามารถสนับสนุนองค์กรเหล่านี้ที่อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ
NGOs กำลังอยู่ภายใต้ความกดดันในรูปแบบอื่นๆ ด้วย ความล้มเหลวที่จะหาทุนจากท้องถิ่นมาแทนที่ทุนต่างประเทศ การออกนอกเส้นทางการบริจาคแบบใหม่ การดำเนินงานโครงการโดยมูลนิธิเอง และธุรกิจเพื่อสังคมกำลังแข่งขันเพื่อให้ได้รับความสนใจและการสนับสนุน – นี่เป็นเพียงบางปัจจัยเท่านั้น
ประเทศส่วนใหญ่มีรูปแบบของการยกเว้นภาษีสำหรับผู้บริจาค องค์กรผู้รับบริจาค หรือมีทั้งสอง ในขณะที่มีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าการลดหย่อนภาษีไม่ได้เป็นแรงจูงใจหลักสำหรับผู้บริจาค อย่างไรก็ตามก็อาจกระตุ้นให้บริจาคมากขึ้นได้