คือการวัดการคงอยู่ของผู้บริจาค มีการวัด 3 อย่าง
1) การคงไว้ในภาพรวม (Overall Retention)
2) การเก็บรักษาไว้ด้วยมูลค่าของผู้บริจาค (Retention by Donor Value)
3) การเก็บรักษาไว้ด้วยวงจรชีวิตของผู้บริจาค (Retention by Donor Lifecycle)
การคงไว้ในภาพรวม (Overall Retention)
วัดโดยดูที่ผู้บริจาคที่ให้ในปีงบประมาณที่แล้วเป็นเปอร์เซ็นต์กับที่ให้ในปีงบประมาณปัจจุบัน โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 45-60%
องค์กรของคุณมีค่าการคงไว้ในภาพรวมเท่าใด?
การเก็บรักษาไว้ด้วยมูลค่าของผู้บริจาค (Retention by Donor Value)
สร้างช่วงจำนวนเงินที่ผู้บริจาคให้เมื่อปีงบประมาณที่แล้ว และวัดเปอร์เซ็นต์ผู้บริจาคที่ยังคงให้ในปีงบประมาณปัจจุบัน จะช่วยให้มุ่งไปที่กลยุทธ์การเก็บรักษาผู้บริจาคและวิธีการที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มผู้บริจาค
องค์กรของคุณกำลังเก็บรักษาผู้บริจาคที่มีมูลค่ามากที่สุดอยู่ไหม?
การเก็บรักษาไว้ด้วยวงจรชีวิตของผู้บริจาค (Retention by Donor Lifecycle)
มีการแบ่งวงจรชีวิตของผู้บริจาคออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
- ผู้บริจาครายใหม่ (New Donors) บริจาคครั้งแรกในปีงบประมาณปัจจุบัน (i.e. FY19)
- ผู้บริจาคปีที่ 2 (Second-Year Donors) บริจาคครั้งแรกในปีก่อนหน้านี้ (FY18) การวัดที่สำคัญคือ การเก็บรักษาไว้ (retention)
- ผู้บริจาคหลายปี (Multi-Year Donors) คือผู้ที่บริจาคในทั้ง 2 ปีงบประมาณก่อนหน้า (FY18, FY17) เป็นผู้บริจาคที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรและนำมาซึ่งรายได้ 2 ใน 3 เป้าหมายของการระดมทุนทั้งหมดทั้งสิ้นคือการได้มาซึ่งผู้บริจาคและพัฒนาให้เป็นผู้บริจาคแบบ Multi-Year
- ผู้บริจาคก่อนหน้านี้ 2 ปีงบประมาณ (Lapsed 13-24 Month Donors) ไม่ได้ให้ในปี FY18 แต่ให้ก่อนหน้านี้ (FY17) ประมาณ 1 ใน 5 จะทำให้กลับมาได้ในปี FY19
- ผู้บริจาคที่เคยบริจาคก่อนหน้านี้ 3 ปีงบประมาณ (Extended Lapsed 25+ Month Donors) ในกลุ่มนี้ปกติแล้วน้อยกว่า 5% จะกลับมาบริจาคอีก
- ผู้บริจาคที่กลับมาบริจาคอีก (Win-Back) คือการทำให้ผู้บริจาคในกลุ่มที่เคยบริจาค 2 และ 3 ปีที่แล้วกลับมาบริจาคอีก
มี 3 วงจรชีวิตที่เหมาะกับการเก็บรักษาผู้บริจาค คือ
- ผู้บริจาคหลายปี (Multi-Year Donors)
- ผู้บริจาคปีที่ 2 (Second-Year Donors)
- ผู้บริจาคที่กลับมาบริจาคอีก (Win-Back)
อัตราของการคงไว้ซึ่งผู้บริจาคขององค์กรคุณตามวงจรชีวิตของผู้บริจาคคืออะไร?