ระบบการวัดการระดมทุนในภาพรวม (Overview Fundraising Metrics)

ระบบการวัดในภาพรวมเป็นการสรุปและอธิบายแนวโน้มของภาพใหญ่ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1) รายได้ (Revenue)

2) การนับจำนวนผู้บริจาคที่ยังบริจาคอยู่ (Active Donor Counts)

3) การเพิ่มจำนวนผู้บริจาค (Donor Replenishment)

รายได้ (Revenue)

– รายได้จากผู้บริจาคที่ให้น้อยกว่า 300,000 บาท

– รายได้จากผู้บริจาคที่ให้มากกว่า 300,000 บาท

ที่แบ่งแบบนี้ เพราะผู้บริจาค 2 กลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และเราปฏิบัติต่อทั้ง 2 แตกต่างกัน

แนวโน้มรายได้ขององค์กรของคุณเป็นอย่างไร?

การนับจำนวนผู้บริจาคที่ยังบริจาคอยู่ (Active Donor Counts)

ให้ดูแนวโน้ม 5 ปี โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

– ผู้ที่บริจาคปีงบประมาณที่แล้ว (FY18) และปีงบประมาณนี้ (FY19)

– ผู้บริจาครายใหม่ในปีงบประมาณนี้ (FY19)

– ผู้ที่เคยบริจาคก่อน 2 ปีงบประมาณ และกลับมาในปีงบประมาณนี้ (FY19)

จำนวนผู้บริจาคที่ยังคงบริจาคให้องค์กรของคุณเพิ่มขึ้นไหม?

การเพิ่มจำนวนผู้บริจาค (Donor Replenishment)

คือการเปรียบเทียบจำนวนผู้บริจาคที่องค์กรหามาได้ รักษาไว้ และกลับมาอีก กับจำนวนผู้บริจาคที่หยุดไปก่อนหน้านี้ (FY17)

มีผู้บริจาค 3 กลุ่มที่เสริมกำลังจำนวนผู้บริจาค

1) ผู้บริจาคที่ยังบริจาคอยู่และเก็บไว้จนถึงปีงบประมาณหน้า (FY20)

2) ผู้บริจาครายใหม่ที่ได้มาในปีงบประมาณนั้น (FY20)

3) ผู้บริจาคที่หยุดไปก่อนหน้านี้ (FY17) และได้กลับมาบริจาคอีกในปีงบประมาณนั้น (FY20)

การวิเคราะห์จำนวนผู้บริจาคที่เพิ่มขึ้นนั้น จะตอบคำถามที่ว่า “กลุ่มผู้บริจาคที่ยังบริจาคอยู่นั้น โตขึ้น หรือ หดลดลง?” โดยเปรียบเทียบ ผู้บริจาครายใหม่ (new)+ผู้บริจาคที่กลับมา (reactivated) และผู้บริจาคที่หยุดไป (lapsed) = เติบโต หรือ หดลดลง

องค์กรของคุณ หาผู้บริจาครายใหม่ (new) และทำให้ผู้บริจาคที่หยุดไปกลับมา (reactivated) ได้จำนวนมากกว่าผู้บริจาคที่หยุดบริจาคไปแล้ว (lapsed) หรือไม่?

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.