โมเดลธุรกิจของคุณ

โมเดลธุรกิจ คือ ตรรกะที่ทำให้กิจการสามารถหาเงินได้มากพอที่จะทำให้อยู่รอดได้

ในการเริ่มทำความเข้าใจกับโมเดลธุรกิจนั้นต้องตอบคำถามที่สำคัญ 2 คำถามให้ได้ก่อน นั่นก็คือ

  1. ลูกค้าคือใคร
  2. งานที่ลูกค้าต้องการให้ทำคืออะไร

ตัวอย่าง New York Road Runners (NYRR) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไร ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนด้วยการจัดแข่งขันวิ่ง จัดชั้นเรียนสอนการวิ่ง จัดคลินิคนักวิ่ง และทำค่ายเพื่อฝึกการวิ่ง ลูกค้าหลักของ NYRR คือเหล่านักวิ่ง และสมาชิกในชุมชนที่อยากมีสุขภาพแข็งแรง

ส่วนประกอบทั้ง 9 ส่วนของโมเดล = ตรรกะที่องค์กรหนึ่งๆ สร้างคุณประโยชน์ให้กับลูกค้า

  1. ลูกค้า = องค์กรแต่ละแห่งให้บริการกับลูกค้า…
  2. คุณประโยชน์ที่สร้างขึ้น = …โดยการช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  3. ช่องทาง = องค์กรแต่ละแห่งจะสื่อสารและส่งมอบคุณประโยชน์ที่สร้างขึ้นให้กับลูกค้าด้วยช่องทางที่แตกต่างกัน…
  4. ความสัมพันธ์กับลูกค้า = …พร้อมทั้งสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
  5. รายได้ = องค์กรจะได้เงินก็ต่อเมื่อลูกค้าจ่ายค่าตอบแทนให้กับคุณประโยชน์ที่สร้างขึ้น
  6. ทรัพยากรหลัก = หมายถึงสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้าง และ/หรือ ส่งมอบคุณประโยชน์ดังกล่าวให้กับลูกค้า
  7. กิจกรรมหลัก = หมายถึงภารกิจและการกระทำที่จำเป็นต้องทำเพื่อสร้างและส่งมอบคุณประโยชน์ดังกล่าวให้กับลูกค้า
  8. พันธมิตรหลัก = กิจกรรมบางอย่างจำเป็นต้องจ้างคนนอกมาทำ และทรัพยากรบางอย่างก็ต้องแสวงหาจากภายนอกองค์กร
  9. ต้นทุน = ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดหาทรัพยากรหลัก ดำเนินกิจกรรมหลัก และทำงานร่วมกับพันธมิตรหลัก

ลูกค้า

  • ลูกค้าแต่ละรายอาจมีความต้องการต่างกันทั้งในแง่สิ่งที่ต้องการ ช่องทางการติดต่อ หรือการสร้างและรักษาความสัมพันธ์
  • ลูกค้าบางรายต้องจ่ายค่าบริการ แต่บางรายก็ไม่ต้องจ่าย
  • องค์กรต่างๆ มักทำเงินจากลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่าลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง

คุณประโยชน์ที่สร้างขึ้น

  • เป็นผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าหรือบริการที่เราสร้างขึ้นมาและนำมา “ผูกรวม” เข้าด้วยกัน ตัวอย่างของส่วนต่างๆ ของคุณประโยชน์ทร่สร้างขึ้น ได้แก่ ความสะดวก ราคา การออกแบบ ยี่ห้อหรือสถานภาพ การช่วยประหยัดต้นทุน การลดความเสี่ยง

ช่องทาง

  • พบหน้ากันหรือทางโทรศัพท์
  • ติดต่อที่บริษัทหรือร้านค้า
  • จัดส่งสินค้าโดยพนักงาน
  • ผ่านอินเทอร์เน็ต (โซเชี่ยลมีเดีย บล็อก อีเมล ฯลฯ)
  • สื่อแบบดั้งเดิม (โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ)

ความสัมพันธ์กับลูกค้า

  • ส่วนตัว
  • อัตโนมัติ
  • ช่วยเหลือตัวเอง
  • ธุรกรรมครั้งเดียว
  • สมัครใช้บริการต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

  • หาลูกค้าใหม่
  • รักษาลูกค้าเดิม
  • หารายได้จากลูกค้าเดิมให้มากขึ้น

ซึ่งวัตถุประสงค์นี้อาจเปลี่ยนไปได้เมื่อเวลาผ่านไป ยกตัวอย่างเช่น สมัยที่มีมือถือใหม่ บริษัทมือถือต่างก็ตั้งเป้าที่จะหาลูกค้าให้ได้มากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์เชิงรุก เช่นการเสนอให้เครื่องโทรศัพท์ฟรีแก่ลูกค้า แต่เมื่อตลาดเร่ิมถึงจุดอิ่มตัวแล้ว บริษัทมือถือก็ปรับไปเน้นที่การรักษาฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้เฉลี่ยของลูกค้าแต่ละรายแทน

รายได้

องค์กรจำเป็นต้อง

  1. หาให้เจอว่าอะไรคือคุณประโยชน์ที่ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อหามา
  2. ยอมรับรูปแบบการชำระเงินที่ลูกค้าเลือก

ทั้งนี้ รายได้แบ่งออกเป็น

  1. การชำระเงินของลูกค้าเพียงครั้งเดียว
  2. การชำระเงินแบบต่อเนื่องเพื่อซื้อสินค้าและบริการ หรือการบำรุงรักษาหลังการขาย

ทรัพยากรหลัก

  1. ทรัพยากรบุคคล
  2. ทรัพยากรทางกายภาพ
  3. ทรัพยากรทางปัญญา
  4. ทรัพยากรทางการเงิน

กิจกรรมหลัก

นี่คือส่วนสำคัญที่สุดที่องค์กรจะต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้โมเดลธุรกิจมี่ใช้การได้จริง

  • การผลิต
  • การขาย
  • การสนับสนุน

พันธมิตรหลัก

คือเครือข่ายที่จะช่วยให้โมเดลธุรกิจใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต้นทุน

เราสามารถคำนวณต้นทุนได้อย่างคร่าวๆ หลังจากที่ได้กำหนดทรัพยากรหลัก กิจกรรมหลัก และพันธมิตรหลักแล้ว

ธุรกิจที่มีความสามารถในการปรับขนาดถือว่ามีความน่าสนใจมากกว่า

ความสามารถในการปรับขนาดหมายถึง การที่ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ ต้นทุนลดลง แทนที่จะเพิ่มขึ้น

ที่มา: โมเดลธุรกิจของคุณ เขียนโดย Tim Clark โดยความร่วมมือของ Alexander Osterwalder และ Yves Pigneur

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.