เกณฑ์มาตรฐานใหม่ในการจัดลำดับความสำเร็จของภาคธุรกิจด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)

มาร์ค วิลสัน จากเอวิว่า

ในโลกของธุรกิจเพื่อสังคมและการลงทุนอย่างมีผลลัพธ์นั้นมีแนวทางสากลที่ได้รับการยอมรับ คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ที่ประกาศในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงกันอยู่ 17 ข้อ ที่เป็นหลักการสำหรับธุรกิจต่างๆ รวมถึงผู้ลงทุนด้วย

การที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติจะประสบผลสำเร็จได้นั้นจะต้องใช้เงินหลายพันล้าน และเป้าหมายจะไม่ถึงไหนหากปราศจากการมีส่วนร่วมอย่างหนักจากภาคเอกชน ในการวัดและติดตามความสำเร็จของกิจกรรมทั้งหมดว่าเป็นอย่างไรนั้น จำเป็นต้องมีเกณฑ์มาตรฐานการวัดที่ต่อเนื่อง และนำไปเปรียบเทียบวิธีการที่บริษัททั้งหมดเหล่านี้ดำเนินการ

นั่นทำให้ World Benchmarking Alliance (WBA) เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ ในการประกาศที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติล่าสุดนั้นได้พูดถึงการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสาธารณะที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ และเพื่อการจัดลำดับบริษัทที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อมีเกณฑ์นี้แล้ว ผู้บริโภค ผู้ลงทุน และภาครัฐ จะมีเครื่องมือที่ครอบคลุมเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่า จะลงเงินที่ไหน จะจัดสรรการลงทุนอย่างไร เรื่องไหนที่จะต้องรณรงค์ และการพัฒนานโยบายต่างๆ

เป้าหมายสูงสุด คือ การทำให้สิ่งที่สังคมคาดหวังจากภาคธุรกิจมีความชัดเจน และเพื่อเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ทำให้บริษัทสามารถทำตามที่คาดหวังได้ “วิธีการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐานนั้นเป็นการแปลความคาดหวังทางสังคมมาเป็นระบบเมตริก ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างๆ มีแนวทางก้าวไปข้างหน้าที่ชัดเจน” มาร์ค วิลสัน ผู้อำนวยการกลุ่มผู้บริหารของเอวิว่า (Aviva) ซึ่งเป็นบริษัทประกันข้ามชาติและเป็นหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรกล่าว ในภาคส่วนอื่นนั้นมีการริเริ่มดัชนีสำหรับกลุ่มที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร (Nonprofit Index Initiative) การเข้าร่วมของมูลนิธิสหประชาชาติ (United Nations Foundation) และการสนับสนุนด้านการเงินจากภาครัฐ ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และ เดนมาร์ก

นอกจากนี้ การจัดลำดับสามารถที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ท่ามกลางธุรกิจต่างๆ ทำให้เกิดตลาดที่ให้รางวัลกับผู้นำในภาคธุรกิจ “ประธานเจ้าหน้าที่บริหารในบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะในสหรัฐเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง” วิลสันกล่าว “คุณจะต้องดึงดูดจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันนั้น เพื่อที่พวกเขาและผู้ถือหุ้นจะให้ความสำคัญกับความยั่งยืนอย่างจริงจัง”

แน่นอน ปัจจัยเฉพาะเจาะจงที่สำคัญทั้งหมดที่ต้องทำนั้นเป็นกระบวนการที่ยาวนาน – ด้วยการปรึกษาผู้คนในสังคม ภาครัฐ แวดวงการศึกษา กลุ่มที่เน้นด้านความยั่งยืน และภาคธุรกิจ ซึ่งกระบวนการปรึกษานี้ต้องใช้เวลา 1 ปี และทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกว่า 10,000 คน

ตัวอย่างของปัจจัยในการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐานที่หลากหลาย: สำหรับ SDG ในกลุ่มอาหารและเกษตร จะรวมถึงการผลิตอาหารในแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมั่นใจว่าชาวนาสามารถดำรงชีพอยู่ได้ สำหรับกลุ่มภูมิอากาศและพลังงาน บริษัทในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดคาร์บอนจำนวนมากเหล่านี้จะอุทิศตนให้กับความตกลงปารีสภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement)

จุดหมายก็คือ การพัฒนาเกณฑ์การวัดทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในปี 2023 เพื่อประเมินบริษัทใหญ่ๆ 2,000 บริษัท โดยกลุ่มแรกที่จะมีการประเมินและตีพิมพ์ในปี 2020 นั้นจะเป็นเรื่องอาหารและเกษตร, ภูมิอากาศและพลังงานออนไลน์ และการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ

วิลสันบอกว่าผู้คุมกฏก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดความสมดุล แนวคิดของบริษัทส่วนใหญ่นั้นจะมุ่งไปที่ระยะสั้น ซึ่งหมายความว่าบริษัทต่างๆ จะไม่คำนึงถึงความเสี่ยงในระยะยาวที่มีต้นทุนมหาศาล อย่างเช่นการลงทุนทุ่นกังหันลมราคาสูง ที่ทำให้บริษัทต่างๆ มักหมดกำลังใจในความพยายามด้านความยั่งยืน ดังนั้น เราจึงต้องมีเกณฑ์มาตรฐานสำหรับผู้คุมกฏทั่วโลกด้วย “การเคลื่อนย้ายสิ่งที่ทิ่มแทงอยู่ในปัญหามากมายในสังคมนั้น ช่วยได้โดยมีการประเมินผู้คุมกฏด้วย” วิลสันกล่าว

นี่ไม่ใช่เพียงแค่วิธีการวัดที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่เป้าหมายก็เพื่อให้ WBA เป็นอิสระ มีความถูกต้อง ในภาพรวมทั้งหมด แหล่งข่าวกล่าวว่า “WBA ถูกคาดหวังให้แสดงบทบาทในการช่วยเป็นแรงงัดและสร้างความปรองดองในเรื่องคลื่นของความริเริ่มเพื่อการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ SDG ซึ่งกำลังพัฒนากันอยู่ในตอนนี้”

ที่มา: Forbes เขียนโดย Anne Field 28/09/2018

รูป: Aviva

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.