ระดมทุนจากภาคเอกชน

ทำไมผู้นำด้านการระดมทุนควรจะช่วยกันคิดเรื่องอนาคตของ F2F

การหาผู้บริจาครายใหม่ๆ ไม่เคยเลยที่จะไม่สำคัญต่อองค์กรการกุศลทั่วโลก และการระดมทุนแบบ Face-to-Face (F2F) หรือ การระดมทุนภาคสนามด้วยการออกไปคุยกับผู้คนตัวต่อตัวเกี่ยวกับองค์กรและโครงการที่ต้องการระดมทุน ซึ่งการระดมทุนแบบนี้ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการหาผู้สนับสนุนที่มีความตั้งใจบริจาคอย่างต่อเนื่อง Daryl Upsall บอกว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีการอภิปรายกันในระดับโลกถึงอนาคตของช่องทางนี้ว่าจะเป็นอย่างไร

F2F ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังจากเริ่มต้นกิจกรรมระดมทุนด้วยการอธิบายโครงการกับผู้ที่เดินไปมาบนท้องถนนที่กรุงเวียนนาเมื่อกว่า 25 ปีที่แล้ว และได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม รวมถึงมีตัวอย่างยอดเยี่ยมที่ได้บูรณาการร่วมกับแคมเปญสร้างสรรค์ต่างๆ แต่ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยถึงความท้าทายที่มีมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

ในตลาดการระดมทุนที่อิ่มตัวแล้วนั้น มักจะค่อนข้างยากที่จะสรรหาและเก็บรักษานักระดมทุนมืออาชีพไว้สนทนากับผู้บริจาคที่คาดหวัง ดังนั้น องค์กรการกุศลจึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้นว่าจะเข้าถึงผู้บริจาคได้อย่างไร และในขณะที่ตลาดระดมทุนที่เกิดใหม่มีอัตราการระดมทุนแบบ F2F ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีความท้าทายอย่างแท้จริงในเรื่องระบบธนาคาร (โดยเฉพาะประเทศในซีกโลกใต้ ซึ่งประกอบด้วยแอฟริกา อเมริกาใต้ ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและประเทศในตะวันออกกลาง)

แต่ที่ยังคงเหมือนกันในทุกๆ ที่ก็คือ มีความสำคัญอย่างมากที่เราต้องหาผู้บริจาคที่มีความผูกพันในระยะยาว และ F2F เป็นหนึ่งในวิธีการที่ประสบความสำเร็จขององค์กรการกุศลทั่วโลกที่ใช้ดึงดูดผู้บริจาครายใหม่ๆ แต่ถ้าการระดมทุนยังคงพึ่งพารายได้จาก F2F เป็นหลัก เราต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและโอกาสในตอนนี้ และการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อกำหนดการพัฒนาช่องทางนี้ในอนาคต

กำเนิด F2F

ความท้าทายเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับการระดมทุน ซึ่งเป็นที่มาของ F2F

“ตอนนี้เรากำลังเป็นเกรย์พีซ ไม่ใช่ กรีนพีซ แล้วนะ Daryl คุณต้องทำอะไรสักอย่างแล้วล่ะ”

นี่คือสิ่งที่หัวหน้า Dr Thilo Bode ผู้บริหารสูงสุดของกรีนพีซ อินเตอร์เนชั่นแนล ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 พูดกับผม ตอนนั้นผมเป็นผู้อำนวยการระดมทุนระหว่างประเทศที่ได้รับมอบหมายให้เปลี่ยนแปลงชะตากรรมด้านการเงินขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อมนี้ สิ่งที่ Thilo พูดนั้นมีประเด็นสำคัญ กรีนพีซนั้นพึ่งพาสำนักงานที่เยอรมันและเนเธอร์แลนด์ในการจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในขณะที่สำนักงานทั้งสองแห่งมีช่องทางการระดมทุนทางไปรษณีย์เพียงแหล่งเดียวและอายุเฉลี่ยของผู้บริจาคก็มากกว่า 65 ปีแล้ว ซึ่งไม่ยั่งยืน

ทั้งๆ ที่กรีนพีซเป็นผู้บุกเบิกด้านการระดมทุนออนไลน์ ผ่าน http://www.greenpeace.org และมีรายรับประมาณ $50,000 (1.5 ล้านบาท) ต่อเดือนในปี 1993 (พ.ศ. 2536) แต่ช่องทางดิจิตอลไม่สามารถช่วยได้ ผู้ใหญ่ส่วนมากไม่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือไม่มีอีเมล

ผู้ร่วมงานกรีนพีซที่ชื่อ Geral Kaufman และ Jasna Sonne ได้มีแนวคิดระดมทุนแบบประหลาดขึ้นเรียกว่า “Direct Dialogue” ที่บริเวณถนน พวกเขาขอการสนับสนุนและอนุมัติจากผมในการทดสอบและเริ่มกิจกรรมระดมทุนนี้ ดังนั้น การระดมทุนแบบ F2F จึงเกิดขึ้นในปี 1995 (พ.ศ. 2538) บนท้องถนนของกรุงเวียนนา และโบสถ์ในออสเตรียได้สนับสนุนให้มาระดมทุนในวันอาทิตย์ด้วย แล้ว F2F ก็ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การผลักดันให้เกิดยุคของการให้อย่างสม่ำเสมอ

การระดมทุนแบบ F2F กลายมาเป็นเครื่องมือหาผู้บริจาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่มันก็ไม่ได้ราบรื่นไปเสียทั้งหมด อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในตอนนี้ และตอนที่เริ่มต้น

กรีนพีซทำให้เกิดมหากาพย์ที่ผิดพลาด เพราะการทดสอบและดำเนินการระดมทุนอย่างรวดเร็วทั่วโลกหรือเปล่า? แน่นอน กรีนพีซได้ผู้บริจาคที่ยังอายุน้อยเกินไปซึ่งหยุดบริจาคในเวลาไม่นาน เราได้ส่งต่อผู้บริจาคไปที่โครงการระดมทุนทางไปรษณีย์ เราไม่เคยต้อนรับพวกเขาเข้าสู่ครอบครัวกรีนพีซ หรือไม่ได้รับฟังอย่างตั้งใจในสิ่งที่ผู้บริจาคกำลังบอกเรา คำว่า “donor stewardship” และ “donor journey” ไม่เคยอยู่ในหัวของเราเลย

ยิ่งไปกว่านั้นเรากำลังต่อสู้กับระบบการจ่ายเงินและธนาคาร นึกถึงวันที่เราไปประชุมกับธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์ที่กรีนพีซมีบัญชีอยู่ และเราบอกกับธนาคารว่า ถ้าไม่มีระบบการหักบัญชีโดยตรง กรีนพีซก็จะไปทำธุรกิจที่อื่น ทั้งนี้ นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่เรือธงที่มีชื่อเสียงสำคัญระดับโลกของกรีนพีซที่ใช้ในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมโดนระเบิดและจมลง จึงทำให้ธนาคารรีบดำเนินการตามที่กรีนพีซต้องการอย่างรวดเร็ว

ความจำเป็นที่ต้องคุยข้ามพรมแดนกัน

พลังของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ยังคงมีความจำเป็นที่จะจุดประกายให้คนทั่วไปบริจาค และยังมีความท้าทายอีกในด้านพนักงานในด้านการจูงใจ กระตุ้น และส่งเสริมพนักงานระดมทุนแบบ F2F ให้มีส่วนร่วม รับฟัง และได้มาซึ่งผู้บริจาคระยะยาวรายใหม่

F2F เป็นตัวผลักดันหลักของโครงการหาผู้บริจาคที่ให้อย่างสม่ำเสมอในองค์กรการกุศลหลายแห่ง และความท้าทาย ปัญหา และประเด็นที่เราเผชิญในตอนที่เราเริ่มระดมทุนแบบ F2F ก็ยังคงอยู่กับเราในวันนี้ และยังคงจำเป็นต้องพูดถึง เราต้องฝ่าฟันกันทั่วโลกในการจัดการความสัมพันธ์กับเอเจนซี่ที่ระดมทุนแบบ F2F ที่เกิดใหม่ และในบางองค์กรที่ใหญ่กว่าที่เริ่มทำแคมเปญระดมทุนแบบ F2F เอง เพียงเพื่อที่จะจัดการความท้าทายและโอกาสทั้งหมดด้วยตนเอง

ในบางประเด็นเหล่านี้ใช่แนวทางที่เรามุ่งไปในปี 2020 หรือไม่ และเมื่อตลาดผู้บริจาคและเทคโนโลยียังคงค่อยๆ เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจะทำให้ช่องทาง F2F นี้ให้มีประโยชน์มากขึ้นได้อย่างไร

เราน่าจะพูดถึง รับฟัง และแบ่งปัน และสร้างชุมชนระดับโลกที่ดีทีสุดของการระดมทุนแบบ F2F

เขียนโดย Daryl Upsall

ที่มา: European Fundraising Association (EFA)

Why fundraising leaders need to come together to shape the future of F2F

รูป: Greenpeace USA

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.