แนวทางคัดเลือกวารสารเผยแพร่บทความวิชาการ

เราเลือกวารสาร วารสารเลือกเรา

ต้องย้อนไปยังต้นน้ำของบทความ คือการวิจัยที่มีคุณภาพดีมากๆ เพื่อเขียนบทความดีๆ อันจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดวารสารเด่นๆ ให้มารับบทความไปตีพิมพ์ได้

สำหรับแนวทางคัดเลือกวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการควรจะศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้อว คือ เรื่องคุณลักษณะของวารสารที่มีคุณภาพ ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร ฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ฐานข้อมูลเอลส์เวีย และฐานข้อมูลบีลล์ลิสต์ (Beall’s List) ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของวารสารที่มีคุณภาพ

ต้องเป็นวารสารที่ผ่านการประเมินจากองค์กรทางวิชาการและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ มีลักษณะดังต่อไปนี้

1. เนื้อหาสาระดี 2. ระบบการประเมินเข้มแข็ง 3. ระบบการบริหารวารสารดี 4. การออกตามกำหนดที่แน่นอนตรงตามเวลา 5. ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสารสูง 6. รายละเอียดของบรรณานุกรมสำหรับอ้างอิงสมบูรณ์

นอกจากนี้ อาจพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น ความนิยมในการอ่าน การใช้ประโยชน์ ห่ือการอ้างอิง ตลอดจนข้อมูลของห้องสมุด

ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร

Journal Impact Factor (JIF) หรือ Impact Factor (IF) หรือ Impact หมายถึง ค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความของวารสารแต่ละปี ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารของบริษัททอมสันรอยเตอร์ส

ฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

Thai-Journal Citation Index Center (ศูนย์ TCI) ได้ประเมินคุณภาพวารสารโดยใช้ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Index -TCI) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยจัดแบ่งวารสารออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

วารสารกลุ่มที่ 1 มีคุณภาพสูง ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ TCI

วารสารกลุ่มที่ 2 ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ TCI และอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ TCI

วารสารกลุ่มที่ 3 ยังไม่รับรองคุณภาพและอาจไม่ปรากฏในฐานข้อมูลศูนย์ TCI ในอนาคต

เจ้าของบทความต้องเลือกเฉพาะวารสารกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เท่านั้น เพื่อให้สามารถนำผลการเผยแพร่บทความนั้นไปขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ขอทุน และรับรางวัลได้

ฐานข้อมูลทอมสันรอยเตอร์ส

จัดทำโดยสถาบันสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ (Institute for Scientific Information, ISI) ใช้วิธีการจัดอันดับการอ้างอิงวารสาร Journal Citation Ranking, JCR) แทน JIF กรือ IF ฐานข้อมูลของสถาบัน ISI-Reuters เป็นวารสารระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเหมือนสกอปัสของเอลส์เวียร์ แต่มีวารสารไทยอยู่ในฐานข้อมูลมากกว่า และได้รับการรองรับจาก สกอ. ตรวจสอบชื่อวารสารได้ที่ https://isiknowledge.com/ หรือ ScienceDirect/wos หรือ ISI Web of Science

ฐานข้อมูลเอลส์เวียร์

มีวารสารระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และมีดัชนีผลกระทบอ้างอิง หรือ Impact Factor สูงมาโดยตลอด บางคนจะเรียกว่า ฐานข้อมูลสกอปัส (Scopus) ที่มีฐานข้อมูลอ้างอิงที่ใหญ่ที่สุด วารสารไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลสกอปัสได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาด้วย

เอลส์เวียร์ใช้ ค่าประเมินคุณภาพวารสาร (J-metrics) เป็น SJR (SCImago Journal Rank) http://www.scimagojr.com และ SNIP (Source Normalized Impact per Paperช) คือแหล่งที่มาของผลกระทบต่อมาตรการปรกติ เป็นดัชนีใหม่ล่าสุด http://www.scopus.com และ http://info.scopus.com/journalmetrics มาแข่งขันกับค่า Impact Factor ของสถาบันสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ของบริษัททอมสันรอยเตอร์ส

ฐานข้อมูลสกอปัสของเอลส์เวียร์เป็นฐานข้อมูลพจนานุกรมของบทความในวารสารทางด้าน Life Science Physical Science Health Science และ Social Science ที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ ยังมีประมวลเอกสารการประชุมวิชาการ (conference proceedings) และหนังสือ (book) สามารถเชื่อมโยงกับรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (full text) ได้ด้วย

นักวิจัย นักวิชาการที่สนใจจะเสนอบทความลงตีพิมพ์ในวารสารของฐานข้อมูลสกอปัสของเอลส์เวียร์ สามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารได้ที่ http://www.anantasook.com>scopus-database

ฐานข้อมูลบีลล์ลิสต์ (Beall’s List)

เป็นบัญชีรายชื่อของวารสารและสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์บทความที่ไม่มีคุณภาพ นักวิจัยสามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารและสำนักพิมพ์ที่อยู่ในฐานข้อมูลบีลล์ลิสต์ดังต่อไปนี้

1. http://scholarlyoa.com/individual-journals

2. Hijacked Journals http://scholarlyoa.com/other-pages/hijacked-journals

3. http://scholarlyoa.com/publishers/

กระบวนการพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการ

1. การส่งบทความวิชาการ แต่ละวารสารจะมีแบบฟอร์มนำส่งบทความวิชาการของวารสารเอง

2. การรับบทความวิชาการ กองบรรณาธิการจะตรวจรูปแบบทั่วไปของบทความ ถ้ามีอะไรต้องแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องก็จะส่งให้ผู้เขียนบทความแก้ไขก่อนและจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินต่อไป

3. การประเมินบทความวิชาการ เป็นขั้นตอนกลั่นกรอง หรือ Peer Review บทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะให้ข้อเสนอแนะและเติมเต็มความรู้เนื้อหาพร้อมกับทักษะการเขียนบทความให้แก่เจ้าของบทความและสร้างสรรค์บทความที่ยังมีข้อบกพร่องให้เป็นบทความที่มีคุณภาพ

4. การจัดพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปแล้ว บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหรือเจ้าของวารสาร ผู้เขียนบทความจะได้รับวารสารฉบับที่ได้ลงตีพิมพ์บทความ จำนวน 1 เล่ม พร้อมหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ

ที่มา: คู่มือการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ โดย ศ. ดร. สิน พันธุ์พินิจ

TCI Round 4 Thailand

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.