ตลาดในเอเชียส่วนใหญ่เข้าใจในเรื่องล็อบบี้หรือการวิ่งเต้นต่างจากตะวันตก หรืออาจจะมีความหมายแตกต่างกันไปในแต่ละที่ แต่ที่เห็นบ่อยๆ นั้น ความหมายไม่ค่อยจะน่าชื่นชมสักเท่าไหร่ ล็อบบี้ดูเหมือนว่าจะเป็นการ “ใช้อิทธิพล” (Influence Peddling) หรือ โดยนัยคือใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมในการเข้าครอบงำรัฐบาล ในตลาดเอเชียแต่ละที่นั้น รัฐบาลมีทัศนคติต่อการล็อบบี้ที่แตกต่างกัน ตลาดในเอเชียมีตั้งแต่รัฐหนึ่งพรรคไปจนถึงราชาธิปไตยรัฐสภา จนถึงสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยที่มีการจัดการ” ส่วนใหญ่มีอำนาจเผด็จการและเป็นวิธีการลำดับชั้นแบบดั้งเดิม ในขณะที่การล็อบบี้แบบดั้งเดิมเป็นเรื่องธรรมดาในตลาดบางแห่ง แต่ยังมีเรื่องความอ่อนไหวและบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมในเอเชียด้านการให้ความเคารพนับถือที่ต้องคำนึงถึงด้วย ประเทศในเอเชียที่มีสื่อเสรีเช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นั้น มีกิจกรรมด้านความสัมพันธ์กับรัฐบาลมากกว่าประเทศอื่น
ความท้าทาย
– หน่วยงานกำกับดูแลของเอเชียมักดำเนินงานอย่างไม่เปิดเผย
– ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายนั้นหาได้ยาก และเทคนิคการล็อบบี้แบบตะวันตกไม่เหมาะกับเอเชีย และมีแนวโน้มเป็นการคุกคาม
– กลุ่มล็อบบี้จำเป็นต้องปรับใช้สัมผัสที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นในเอเชีย การเขียนถึงกันมักจะมีความสุภาพ มีความขอบคุณ และเน้นความสำคัญถึงประโยชน์ต่อชาติของหน่วยงานกำกับดูแลที่น่าสงสัย
– นักล็อบบี้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลของเอเชียผ่านทางการประชุมส่วนตัวที่สำนักงานรัฐบาล
– กลยุทธ์กดดันทางตะวันตกที่มีประสิทธิภาพด้วยการออกอากาศปัญหาต่างๆ ในสื่อต่างประเทศ มักจะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลของเอเชียหมางเมิน
– กลุ่มล็อบบี้ในเอเชียใช้เวลาศึกษาเรื่องเทคนิคเป็นระยะเวลานาน กลยุทธ์ระยะยาวทำให้พวกเขากลายมาเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนางานด้านผู้กำกับดูแลที่อาจขาดความเชี่ยวชาญ ล็อบบี้ยิสต์จะต้องมองหาเป้าหมายการพัฒนาของเอเชียและให้ข้อมูลและความเข้าใจในที่ที่สามารถทำได้ โดยการทำเช่นนั้นคนจะมองว่าพวกเขาเป็นผู้ที่กำลังปรับปรุงกระบวนการสร้างกฎ
– การสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญมากในเอเชีย เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายในเอเชียเข้าถึงได้น้อยกว่าในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ผู้บริหารที่สามารถเข้าถึงเจ้าหน้าที่กำกับดูแลเป็นบุคคลที่น่าดึงดูดสำหรับกลุ่มล็อบบี้
ผู้เล่น
เอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์ที่มีมาตรฐานทั่วไปในประเทศแถบเอเชียส่วนใหญ่มักจะเป็นเอเจนซี่ที่มีความสามารถอยู่แล้วด้านกิจการสาธารณะและความสัมพันธ์กับรัฐบาล รวมถึงการเฝ้าระวังและการรวบรวมข่าวกรอง การวิเคราะห์นโยบาย ความสัมพันธ์กับชุมชน การจัดการปัญหา และการจัดการความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งก็คือการล็อบบี้อย่างหนึ่งในบางกรณี แต่โดยทั่วไปแล้วงานของเอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์เป็นงานสาธารณะในวงกว้างและด้านความสัมพันธ์กับรัฐบาล ในขณะที่เอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์อาจไม่ได้ล็อบบี้รัฐบาลในเอเชียโดยตรง พวกเขามีบทบาทอย่างมากในการช่วยให้ลูกค้าเข้าใจและสำรวจกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล
ข้อเสนอแนะ
– บริษัทต่างๆ ควรสร้างความสามารถเฉพาะด้านของตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น ส่วนในพื้นที่ที่รัฐบาลไม่ได้รับการเลือกตั้งนั้น อาจมีการรับฟังเสียงที่ไม่ได้มาจากภายใน “ชนชั้นสูงปกครอง”น้อยกว่า
– ตลาดทุกแห่งในเอเชียนั้นแตกต่างกัน และไม่มีบริษัทใดสามารถลงทุนให้มีล็อบบี้ยิสต์ภายในองค์กรเพื่อรองรับในทุกตลาดที่พวกเขาดำเนินงานหรือวางแผนที่จะเข้าร่วมได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการผสมกันของความสามารถในการล็อบบี้จากภายในองค์กรและจ้างจากภายนอกองค์กร กุญแจสำคัญคือการหาสมดุลที่เหมาะสมของความสามารถภายในและภายนอกองค์กร บริษัทที่มีความใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับดูแลหรือผู้กำหนดนโยบาย มักมีแรงจูงใจที่แข็งแกร่งกว่าที่จะจัดตั้งล็อบบี้ยิสต์ภายในองค์กร เพราะการล็อบบี้จะใช้ความพยายามและเวลาน้อยกว่าในการสื่อสารกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ