Checklist ฉบับ SME
1. ธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ต้องปรับตัว ธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก การขาดแคลนทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ นำมาซึ่งโอกาสและความเสี่ยงที่ธุรกิจต้องปรับตัว เพื่อเตรียมรับมือกับเรื่องดังกล่าวอย่างยั่งยืน ซึ่งแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นหมายถึงวิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง ทำได้ด้วยการบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถเลือกทำในประเด็นที่สอดคล้องกับธุรกิจหลักก่อนเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างผลลัพธ์ที่ดีแก่สังคม มีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
2. ระดับการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน มุ่งสร้างคุณค่า 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าทางสังคม และคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาและบูรณาการเข้ากับกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานในทุกระดับขององค์กร พิจารณาจากสถานะธุรกิจปัจจุบันเพื่อให้การกำหนดกลยุทธ์เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 2.1 Initiative-based: based on standard and guideline compliance เป็นระดับที่เพิ่งเริ่มใช้หลักการ มักไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจหลัก เช่นการบริจาค การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน งานจิตอาสาของพนักงาน เป็นต้น ดังนั้น กิจกรรมหรือโครงการที่เกิดขึ้นควรกำหนดเป้าหมายให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและข้อกำหนดของกฎหมาย ตัวอย่าง: กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ; มาตรฐานสากล; แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม 2.2 Strategy-focused: focus on business processes and management systems เป็นระดับที่องค์กรเห็นว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความสำคัญ มีการเชื่อมโยงแนวปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับกลยุทธ์องค์กรเข้าด้วยกัน ตัวอย่าง: กำหนดแผนงานด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับบริบทองค์กร; การนำแนวปฏิบัติด้าน Green Procurement มาใช้ ตัวอย่าง: มาตรฐานสากล เช่น ISO26000, แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR – DIW) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งพัฒนามาจาก ISO26000 2.3 Mission-driven: driven by sustainability mission and vision เป็นระดับที่องค์กรเข้าใจแล้วว่าธุรกิจสามารถสร้างผลตอบแทนทางการเงินควบคู่ไปกับผลตอบแทนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง “แนวปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืน” กับ “กลยุทธ์องค์กร” เข้าด้วยกัน ตัวอย่าง: การกำหนดแผนงานด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับบริบทองค์กร เช่นหัวใจของธุรกิจของธนาคารคือความซื่อสัตย์ ควรส่งเสริมพนักงานในเรื่องความซื่อสัตย์มากกว่าทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม, การนำแนวปฏิบัติด้าน Green Procurement มาใช้ เช่นการพิจารณาว่าคู่ค้ามีความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการใช้แรงงานผิดกฎหมายหรือไม่เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องเสียภาพลักษณ์ที่กลายเป็นบริษัทมีการสนับสนุนในเรื่องนี้
3. Checklist เพื่อธุรกิจยั่งยืน เป็นเครื่องมือเบื้องต้นช่วยให้องค์กรมั่นใจว่ามีการบริหารจัดการความยั่งยืนอย่างครอบคลุมด้วยแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (ESG) ซึ่งมีประเด็นต่างๆ ดังนี้ บรรษัทภิบาล, การบริหารความเสี่ยง, การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม, การจัดการด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน และการจัดการด้านสังคม checklist นี้ เป็นแนวปฏิบัติที่จะทำให้องค์กรเข้าใจ ESG มากขึ้น องค์กรควรพิจารณาประเด็นใน checklist ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กร
4. ประโยชน์ของการจัดทำและเปิดเผยข้อมูล ESG การเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างเพียงพอ ถูกต้อง และโปร่งใส เป็นหัวใจสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ โดยประโยชน์ของการจัดทำรายงานความยั่งยืนก่อให้เกิด 4.1 การพัฒนากระบวนการภายใน: พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ความยั่งยืน; เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง; สร้างแรงจูงใจและรักษาพนักงาน; ได้ทบทวนกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง; และเกิดนวัตกรรมใหม่ 4.2 การสร้างโอกาสทางธุรกิจ: เป็นช่องทางสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย; เกิดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ; ดึงดูดความสนใจในการลงทุน; และสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ
5. รู้จัก 5 ขั้นตอนที่ทำให้การจัดทำรายงานเพื่อความยั่งยืนง่ายยิ่งขึ้น 5.1 เตรียมการ: วางแผนกระบวนการจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนการเตรียมการภายในองค์กร และเป็นการปรับกระบวนการภายในให้พร้อมเริ่มต้นทำรายงาน 5.2 เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย: ระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม 5.3 กำหนดเนื้อหาการรายงาน: มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย โดยระบุประเด็นสำคัญ; จัดลำดับความสำคัญ; การตรวจสอบประเด็นสำคัญ; และการทบทวน 5.4 ติดตามรวบรวมข้อมูล: องค์กรควรรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ประเด็นที่พิจารณาแล้วว่าเป็นสาระสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ ESG 5.5 รายงาน: องค์กรได้สื่อสารผลการดำเนินงานด้าน ESG แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
การบูรณาการ ESG เข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก SME ควรพิจารณาปฏิบัติเพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐานให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนต่อไป
ที่มา: https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/publication/files/checklistsme.pdf