Thaliand SDGs Forum 2017 #2 : Thailand progress on SDGs implementation

26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560: วันนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วม SDG forum จัดโดยมูลนิธิมั่นพัฒนาและไทยพับบลิก้า ซึ่งมีประโยชน์มากๆ จึงสรุปประเด็นสำคัญมาแชร์ให้ผู้อ่านได้ทราบ เพื่อที่เราจะได้ช่วยกันสนับสนุนการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทยและในระดับโลก ซึ่งเรื่องการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนนั้น ในหลวงของเราได้ริเริ่มและปฏิบัติมานานแล้ว โดยที่คนไทยรู้จักกันในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Self Efficiency Economy – SEP)

หัวข้อในที่ประชุมนี้มีเรื่องของความก้าวหน้า SDGs ของประเทศไทย; Post Review: ไทยกับการเข้าร่วมติดตามและทบทวนผลการอนุวัติวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ในระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR); ความคืบหน้าและความท้าทายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม (SDGs 6, 12, 13, 14); และวงเสวนา: ทบทวนเพื่อก้าวต่อ “ประเมินสถานะและทบทวนเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน"

ประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับความก้าวหน้าในการดำเนินการ SDGs (SDG Index) อยู่ในอันดับที่ 55 หากเปรียบเทียบในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดคือ มาเลเซีย โดยอยู่ในอันดับที่ 54 ในขณะที่สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 61 และเวียดนามอยู่อันดับที่ 68

โดยส่วนใหญ่แล้วในประเทศไทยภาครัฐเป็นฝ่ายนำในการดำเนินการเรื่อง SDGs และสิ่งที่ท้าทายในตอนนี้คือการเข้าร่วมและการทำงานกับภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ SDGs ซึ่งเวทีนี้จะช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชนได้

ประเทศไทยเพิ่งกลับมาจากการนำเสนอผลของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ที่นิวยอร์ก โดยคณะผู้แทนไทยไปจากหลากหลายกระทรวงซึ่งต่างจากประเทศอื่น ส่งเสริมให้เกิดความเป็นเจ้าของและรับผิดชอบ ผู้ที่นำเสนอจากประเทศไทยคือรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ, นาย ฐาปน สิริวัฒนภักดี หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) โครงการสานพลังประชารัฐ และ ผู้แทนเยาวชนจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประเทศไทยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำในการดำเนินการ

สำหรับเวทีในวันนี้ กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มานำเสนอเป้าหมาย 5 ข้อ และได้เชิญชวนภาคธุรกิจเข้าร่วมด้วย โดยมี SDGs #6 เรื่องน้ำ ตอนนี้มีการจัดทำพรบ.น้ำ สร้างหลักประกันด้วยการมีน้ำอย่างเพียงพอเพื่อสุขอนามัยสำหรับทุกคน #12 การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีการทำ Roadmap ทุกๆ 20 ปี; #13 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงจาก Green Economy ไปเป็น Blue Economy นวัตกรรมนำเทคโนโลยี Blue Carbon ในทะเล สร้างพื้นที่ป่าในเมือง #14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขยะทะเลเป็นปัญหาระดับต้นของประเทศ ไทย ส่วนใหญ่มาจากบนบก; และ #15 การปกป้องฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ

ทิศทางของโลกได้สะท้อนถึงสปิริตด้าน SDGs 5 เรื่อง คือ 1) inclusive development คือ การใช้ multi stakeholder platform; 2) universal development คือ ทุกประเทศต้องทำงานร่วมกัน 3) integrated and indivisible คือ การแยกออกจากกันไม่ได้ 4) locally focus คือ ใช้ SDGs เพื่อท้องถิ่น 5) technology driven development คือการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและการทำวิจัยแบบ actionable researches

ทิศทางของประเทศไทยในภาพรวมตอนนี้มีการจัดทำ พรบ.จัดตั้งที่ดิน, กฏหมายจัดตั้งระบบยุติธรรมชุมชน, พรบ.ป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้าร่วมทำงานกับภาครัฐ, มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อการจัดการเคมี ความท้าทายในตอนนี้คือ ความร่วมมือกันจริงๆยังไม่มี ต่างคนต่างมีเป้าของตัวเอง โจทย์หลักคือใครเป็นเจ้าภาพ

ด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพ SDG #2 ขจัดความหิวโหย แต่ก็สนับสนุนหลายๆเป้าหมายที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งกระทรวงทำอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร ได้แก่ การจัดระบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืน, การจัดทำยุทธศาสตร์อินทรี ที่มีภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเข้าร่วมด้วย โดยภาคธุรกิจรับซื้อผลผลิต, นโยบายการทำเกษตรแปลงใหญ่ที่เกษตรกรมารวมตัวกัน

กระทรวงสาธารณสุขดูแล SDG #3 มีระบบประกันสุขภาพ ลด HIV/AIDS และการตายจากอุบัติเหตุ ความท้าทาย คือ รณรงค์ให้มีการป้องกันก่อนรักษา, สุขภาพเราต้องดูแล และการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ

ส่วนประชารัฐนั้นเน้นในเรื่อง SDG #17 โดยสร้างแพลตฟอร์มในการทำงานร่วมกัน ทำเรื่องเกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวในชุมชน โดยชุมชนทำ เอกชนส่งเสริม รัฐช่วยด้านงบประมาณและกำลังคน ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เลือกพื้นที่ในการขับเคลื่อน ความท้าทายคือความเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกัน ทำอย่างไรให้มีการต่อยอด ไม่ใช่ทำเนื่องเดียวกันแล้วทิ้ง

มีภาคธุรกิจที่เข้าร่วมเสวนาด้วยคือ เทสโก้โลตัส ดูเรื่อง SDG #12 เน้น ข้อ 12.3 คือการช่วยโลก ลดการสูญเสียอาหาร 50% ภายในปี 2030 โดยมีเทสโก้ที่อังกฤษเป็นแชมเปี้ยน และเป็นประธานกลุ่มแชมเปี้ยน 12.3 โดยตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้ เทสโก้ทุกสาขาจะไม่มีการทิ้งอาหาร มีความท้าทาย คือ คำนิยามที่แตกต่างกันและการบูรณาการตลอดห่วงโซ่อุปทาน เกษตรกรไม่เข้าใจบริบทของโลกเนื่องจากขาดโอกาส อยากให้ FAO ให้การอบรมในนิยามเรื่องการสูญเสียอาหาร เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน นอกจากนี้ความรู้และความเข้าของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเพิ่มการรับรู้สาธารณะ เราต้องร่วมมือกันเพราะทำคนเดียวไม่สำเร็จ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.